ไต้หวันมีการพัฒนาอย่างมากในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก
ไต้หวันมุ่งมั่นที่จะดำเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและบูรณาการโดยใช้มาตรฐานสากล จนประสบความสำเร็จดังนี้
- การประเมินระดับนานาชาติ : ในปี 2024 "Freedom House" "Reporters Without Borders"และ "Country Reports on Human Rights Practices" ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างก็ยืนยันถึงการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของไต้หวัน
- เสรีภาพทางศาสนา : ไต้หวันได้รับเชิญให้เป็นผู้สังเกตการณ์ของ International Alliance for Religious Freedom or Believe Alliance และอดีตประธานาธิบดีไช่ได้แต่งตั้งให้บาทหลวงปูซินทาลีให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอิสระคนแรกของไต้หวันด้านเสรีภาพทางศาสนา
- สมรสเท่าเทียม : ในปี 2019 ไต้หวันประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมและกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ทำให้การแต่งงานของเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย ในปี 2023 ไต้หวันมีมติให้ขยายสิทธิสมรสเท่าเทียมแก่ชาวต่างชาติเป็นทางการ รวมถึงการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมอีกด้วย
- การส่งเสริมพลังสตรี : ในการเลือกตั้งรัฐสภาของไต้หวันปี 2024 สัดส่วนของสมาชิกสภานิติบัญญัติเพศหญิงที่ได้รับการเลือกตั้งสูงถึง 41.6% ซึ่งอยู่ในอันดับ 1 ของเอเชีย ในปี 2023 มีการแก้ไขกฎหมายความเสมอภาคทางเพศในสถานที่ทำงาน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายคุ้มครองการล่วงละเมิดทางเพศ และกฎหมายการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : ไต้หวันจัดตั้ง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ในปี 2020 เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
- การปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ : ในปี 2009 ไต้หวันได้นำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองระหว่างประเทศและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (International Covenant on Civil and Political Rights and International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) มาใช้ ต่อมาไต้หวันยังได้ผ่านกฎหมายในประเทศเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามและยึดมั่นของไต้หวันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
- รายงานผลประเมินระดับชาติว่าด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติ : ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาที่ไต้หวันเพื่อทบทวนรายงานระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนตามแบบจำลองของสหประชาชาติ เผยแพร่ "แผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติ" (National Human Rights Action Plan) ฉบับแรกของไต้หวันในปี 2022 และ "แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน" (National Action Plan on Business and Human Rights) ฉบับแรกในปี 2020
- การป้องกันการค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าว และการคุ้มครองชนพื้นเมือง : โดยผ่านแผนปฏิบัติการแสวงหาผลประโยชน์จากการกดขี่แรงงานในอุตสาหกรรมการประมงและสิทธิมนุษยชนในปี 2022 เพื่อปรับปรุงแรงงานด้านการประมงและสิทธิของลูกเรือ ผ่านพระราชบัญญัติต่อต้านการค้ามนุษย์ ในปี 2009 ได้จัดทำและแก้ไขกฎหมายพื้นฐาน 85 ฉบับ เกี่ยวกับชนพื้นเมืองให้เสร็จสิ้นภายในปี 2024 และจัดตั้งสภาชนพื้นเมืองในปี 2002
- การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม : ได้มีการนำระบบใหม่ของพระราชบัญญัติผู้พิพากษาแห่งชาติมาใช้ในปี 2023 และในปี 2019 มีการแก้ไขมาตราบางมาตราของพระราชบัญญัติผู้พิพากษาเพื่อเข้มงวดและลงโทษผู้พิพากษาที่ละเมิดกฎหมายหรือละเลยหน้าที่ และให้โอกาสคนภายนอกมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นและมีการคุ้มครองตามระเบียบวินัย
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.mofa.gov.tw/cl.aspx?n=1158